สิวขึ้นจมูก

สิวขึ้นจมูกเกิดจากอะไร ควรป้องกันและรักษาอย่างไรถึงจะหาย

ปัญหาสิวขึ้นที่จมูกเป็นฝันร้ายทั้งเป็นของทุกๆ คนที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นจริงมากที่สุด หากเป็นเคสเป็นสิวที่หน้าผากเรายังใช้ผมปิดบังได้ แต่ตรงจมูกเป็นจุดโฟกัสที่คนอื่นมองสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุด อาจทำให้ผู้ที่ประสบเป็นสิวขึ้นจมูกเสียความมั่นใจ วิตกกังวลและอาจสูญเสียบุคลิกไปได้ 

แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ สาเหตุการเป็นสิวที่จมูกย่อมมีวิธีรักษาสิวในจมูกหายไปได้เช่นกัน โดยทาง M Vita Clinic จะมาสรุปสาระสิวขึ้นที่จมูกฉบับเข้าใจง่าย ผู้ประสบปัญหาสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้แน่นอน

ก่อนอื่นหมอขออนุญาตแนะนำตัวเองก่อนนะครับ หมอชื่อหมอเอ็ม นายแพทย์มนตรี อุดมประเสริฐกุล เป็นแพทย์ประจำ เอ็มวีต้า คลินิก ครับผม

สิวที่จมูก (Nose Acne)

สิวที่จมูก

สิวที่จมูก (Nose Acne) มีลักษณะเป็นตุ่มบวมขึ้นมาบนชั้นผิวหนังกำพร้า ส่วนใหญ่ลักษณะสิวตรงจมูกที่ผู้คนจะเป็นประจำ มักเป็นสิวหัวหนองที่เกิดจากการสะสมของน้ำมันซีบัม (Sebum) ที่ผลิตความชุ่มชื้นบนใบหน้าเกินความจำเป็นจนเกิดการอุดตันภายในรูขุมขน หรือเป็นสิวหัวดําที่จมูกก็ได้ เนื่องจากผิวหนังชั้นกำพร้าที่ตายไปและน้ำมันซีบัมที่มีส่วนผสมของเมลานิน (Melanin) ปะทะกับออกซิเจนทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเปลี่ยนเป็นสีดำเกาะติดสะสมตรงปากรูขุมขน รวมไปถึงสิวไม่มีหัวนูนเป็นตุ่มแดงใหญ่ มีก้อนหนองอยู่ข้างใน หากสัมผัสอาจทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดได้ครับ

สิวขึ้นที่จมูกเกิดจาก

โดยทั่วไป การเป็นสิวที่จมูกสามารถเกิดได้จากกลไกการทำงานของร่างกายเกิดการแปรปรวนเฉียบพลัน และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่นกันครับ ประเด็นหลักที่เกิดสิวขึ้นจมูกจะมี 4 สาเหตุ ดังนี้ 

ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล

ในร่างกายมนุษย์ทั้งสองเพศ จะมีฮอร์โมนผู้หญิงเอสโตรเจน (Estrogen) กับฮอร์โมนผู้ชายแอนโดรเจน (Androgen) ทำหน้าที่ช่วยเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ และควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันซีบัมใต้ผิวหนังอีกด้วย หากระดับฮอร์โมนเพศมีมากเกินไป อาจทำให้กระตุ้นน้ำมันผลิตออกเกินความจำเป็นนำไปสู่สิวฮอร์โมนขึ้นที่จมูกได้ อาทิ ช่วงวัยแตกหนุ่มแตกสาวในย่างวัยรุ่น, ระยะรอบเดือน เป็นต้น 

สภาวะทางจิตใจเกิดความตึงเครียดสูง

การวิตกกังวลจนกลายเป็นความเครียดสะสม ส่งผลให้ร่างกายของเราไม่สามารถพักผ่อนได้เพียงพอ สมองของเราจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติโคโทรปิน (Corticotrophin) ให้เกิดการหลั่งเซลล์โปรตีนไซโตไคน์ (Cytokine) สารอักเสบทำให้ต่อมผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป เป็นสาเหตุทำให้น้ำมันอุดตันในรูขุมขนเป็นสิวในจมูกขึ้นมานั่นเองครับ

การใช้ผลิตภัณฑ์จากเครื่องสำอางและเวชสำอางไม่เหมาะสมกับผิวตนเอง

สารเคมีประกอบภายในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง เช่น ครีมรองพื้น, คอลซีลเลอร์, ครีมกันแดด, เซรั่ม, โลชัน ฯลฯ อาจมีสารที่เพิ่มความชุ่มชื้นบนใบหน้า รวมไปถึงสารที่ก่อให้เกิดสิวอุดตันจมูกได้ครับ  

การรับประทานยาชนิดที่กระตุ้นเกิดสิวที่จมูก

การรับประทานยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids), ยาสเตียรอยด์มีฤทธิ์เสริมกล้ามเนื้อ (anabolic-androgenic steroids), โพรเจสติน (progestins), ยาบำบัดจิต (antipsychotics) และยาวิตามินจำพวก B6 กับ B12 สามารถกระตุ้นให้สิวที่จมูกทั่วไปเป็นสิวอักเสบที่จมูกได้ในภายหลังครับ

สิ่งสกปรกสะสม

การสะสมของสิ่งสกปรกต่างๆ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวขึ้นจมูก เนื่องจากพื้นผิวของจมูกมีลักษณะเป็นร่องลึก และมีรูขุมขนขนาดใหญ่กระจายอยู่มาก จึงเป็นแหล่งสะสมคราบสกปรก และสารตกค้างจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาและทำความสะอาดอย่างถูกวิธี สิวเหล่านี้ก็อาจลามไปสู่การอักเสบ แตกหนอง หรือเกิดรอยแผลเป็นได้

ประเภทของสิวขึ้นจมูก

ประเภทของสิวที่จมูก

ประเภทหลัก ๆ ของสิวขึ้นจมูกจะมี 4 ชนิดดังนี้ครับ 

สิวเสี้ยนที่จมูก

สิวเสี้ยนเยอะตรงจมูก (Trichostasis Spinulosa) มีลักษณะเป็นสิวหัวดำฝังอยู่ในปากรูขุมขนและมีหัวสิวเป็นขนอ่อน ๆ ออกมาตรงรูขุมขน สาเหตุมาจากกระบวนการผลิตเส้นขนเส้นเล็ก ๆ บนผิวมีความผิดปกติ ทำให้เกาะกลุ่มตรงส่วนเคราตินไขมัน น้ำมันซีบัมและเซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้วแต่ยังไม่หลุดลอกออกไป จึงเกิดเป็นกลุ่มก้อนสิวที่จมูกขนาดเล็ก เมื่อสัมผัสกับอากาศทำให้สิวที่มีสารเมลานินเป็นสิวสีดำ ไม่สามารถหลุดออกได้ตามธรรมชาติเองครับ  

สิวอักเสบที่จมูก

สิวอักเสบที่จมูก (Inflammatory nose Acne) มีลักษณะเป็นสิวหัวแดง, หัวหนอง หรือสิวที่ไม่มีหัวเป็นก้อนนูนออกมา เกิดจากสิ่งแปลกปลอมอาทิ สิ่งสกปรก เชื้อแบคทีเรียจำพวก C.acnes ได้ออกฤทธิ์เอมไซม์ลิเพส (lipase) ให้เปลี่ยนน้ำมันบนใบหน้าเป็นกรดไขมันแทน ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบชั้นผิวหนังส่วนบน เป็นตุ่มสิวที่จมูกขนาดใหญ่ได้ครับ   

สิวหัวช้างที่จมูก

สิวหัวช้างที่จมูก (Nodulocystic Acne) มีลักษณะเป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ คล้ายเป็นฝี และรุนแรงกว่าสิวอักเสบที่จมูก เพราะสิวฝังลึกไปถึงผิวหนังชั้นแท้ โดยเชื้อแบคทีเรีย C.acnes จะอยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนัง หากสัมผัสอาจเกิดความเจ็บปวดได้   

สิวอุดตันที่จมูก

สิวอุดตันที่จมูก (Comedones Nose Acne) มีลักษณะเป็นสิวอุดตันในรูขุมขนทั่ว ๆ ไป เพราะบริเวณจมูกได้ผลิตน้ำมันซีมันเพื่อความชุ่มชื้นเกินความจำเป็น จนทำให้เกิดการสะสม รูขุมขนขยายออกกว้างจนเป็นไขมันก้อนเล็ก ๆ อุดตันเป็นสิวที่จมูกขึ้นมาเอง

ทำไมเราถึงไม่ควรบีบสิวขึ้นจมูก

  • อาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อมากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลารักษานานขึ้น
  • อาจเกิดรอยแผลเป็นจากการบีบแรงเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดรอยดำรอยแดงหรือหลุมสิวตามมา
  • มีโอกาสทำให้สิวแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง เกิดสิวขึ้นเรื้อรัง
  • หากการบีบไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดปัญหาสิวติดเชื้อที่มีผลกระทบต่อดวงตาและสมองได้ 
  • เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านทางมือ หากมือไม่สะอาด

แทนที่จะบีบสิว ควรปล่อยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คลินิกรักษาสิวใกล้ฉันเป็นผู้รักษา เนื่องจากมีความชำนาญและวิธีการรักษาที่ถูกต้องปลอดภัยมากกว่าครับ

รักษาสิวกับแพทย์

สิวขึ้นที่จมูก รักษายังไง ? ไม่ให้เป็นหลุมสิว!

ทางคุณหมอได้เตรียม 5 วิธีรักษาสิวขึ้นจมูกอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้สิวในจมูกของคนไข้เป็น รอยดํา รอยแดง จากสิว ทิ้งแผลไว้ภายหลังครับ

1. ใช้ยารักษาสิวขึ้นจมูก

เป็นสิวที่จมูก
  • ยาผสมจำพวกอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids) มีฤทธิ์เทรทิโนอิน (Tretinoin) ที่ช่วยลดสิวขึ้นข้างจมูกที่อักเสบ ต้านภาวะการอักเสบให้ทุเลาได้ 
  • ยาจำพวกเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) มีฤทธิ์ความเข้มข้นในระดับ 2.5% – 5% สำหรับกำจัดเชื้อแบคทีเรียในสิวใต้จมูก มีผลข้างเคียงทำให้ผิวหนังแห้งกร้านและเกิดอาการระคายเคืองได้ 
  • ยาจำพวกปฏิชีวนะ (Antibiotic) มีฤทธิ์กำจัดเชื้อรา สิ่งสกปรก สิวในจมูกที่อักเสบสลายออกไป 
  • ยาจำพวกกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) มีฤทธิ์ลดการสะสมของไขมันอุดตันสิวที่จมูก และช่วยทำให้หัวสิวที่อุดตันอยู่ภายในรูขุมขนหลุดออกไปได้ง่ายขึ้น
  • ยาจำพวกกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) มีฤทธิ์ต้านการสร้างเม็ดสีเมลานิน ลดการอุดตัน รวมไปถึงเชื้อจุลชีพ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ปรสิต ให้สลายออกไป เมื่อใช้ยาประเภทนี้อาจช่วยรักษารอยดำจากสิว แต่อาจไม่ได้ช่วยรักษาหลุมสิว
  • ยาจำพวกซัลเฟอร์ (Sulfur) มีช่วยละลายหัวสิวอุดตันให้กดออกได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดเชื้อยีสต์บนผิวหน้าได้ จึงอาจได้ผลดีในเคสที่เป็นเซ็บเดิร์มด้วย
  • ยาจำพวกไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) มีฤทธิ์กำจัดสิวขึ้นจมูกอักเสบรุนแรง อาทิ สิวหัวช้าง ให้สลายออกไป สามารถใช้ยาตัวนี้รักษาสิวได้ในระยะยาว

2. ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่จมูก

รักษาสิวที่จมูก

การใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวขึ้นจมูกจะแบ่งลักษณะการใช้งานตามสภาพรอยสิว โดยสิวประเภท สิวอุดตันทั่วไป หรือเป็นสิวเสียนเยอะตรงจมูกสีดํา สามารถใช้แผ่นลอกสิว หรือครีม สกินแคร์กระชับรูขุมขนให้เล็กลง ส่วนใครที่เป็นสิวอักเสบรุนแรง ควรใช้ยารักษาสิวเฉพาะตามคำแนะนำของแพทย์นะครับ 

3. กดสิวที่จมูก

บีบสิวเสี้ยนที่จมูก

การกดสิวต้องดูประเภทสิวที่ขึ้นจมูกก่อนนะครับว่าชนิดไหนสามารถแกะด้วยปลายนิ้วมือของเราได้ โดยประเภทสิวที่สามารถกดได้ จะมี สิวหัวขาว สิวหัวดำหัวเปิด และสิวหัวหนองอักเสบระยะสุดท้าย หลังจากกดสิวขึ้นจมูกเสร็จเรียบร้อย ให้คนไข้ล้างหน้าให้สะอาด จากนั้นนำสำลีชุบน้ำเกลือจุดที่กดสิวออกไปให้สะอาดครับ

4. เลเซอร์สิวขึ้นจมูก

เลเซอร์สิวที่จมูก

การทำเลเซอร์สิวที่จมูก เป็นอีกหนึ่งวิธีเฉพาะทางที่หมอจะใช้เลเซอร์ขยายปากหลุมสิวขึ้นจมูกออกมา เพื่อนำเม็ดสิวที่ฝังลึกบนจมูกออกมาให้หมด ทำลายเส้นขน กระตุ้นผิวหนังสร้างคอลลาเจนใต้จมูกให้มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น

5. ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง

ปรึกษาสิวที่จมูก

การปรึกษาสิวที่จมูกกับแพทย์เฉพาะทาง จะช่วยให้คนไข้ได้รับคำแนะนำและวิธีการรักษาที่ถูกต้อง เพราะทางคุณหมอจะช่วยประเมินระดับความรุนแรงของสิวขึ้นจมูก พร้อมเลือกอุปกรณ์ในการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพสิวของคนไข้ครับ

รักษาสิวกับแพทย์

แนวทางดูแลผิวป้องกันสิวขึ้นจมูก

เเนวทางการป้องกันสิวขึ้นจมูก

วิธีรักษาสิวขึ้นจมูกให้สะอาดสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเอง ด้วยมี 4 วิธี ดังนี้

  • ก่อนใช้รองพื้นในการแต่งหน้า ควรใช้โทนเนอร์ก่อนลงครีมทุกครั้ง
  • ล้างหน้าให้สะอาด หากแต่งหน้าให้ใช้ผลิตภัณฑ์คลีนซิ่งที่เหมาะสำหรับผิวหน้าตนเองเช็คให้เรียบร้อย
  • หลีกเลี่ยงการกินของจุกจิก รวมไปถึงชนิดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง 
  • พักผ่อนวันละ 6 – 7 ชั่วโมงต่อวัน 
  • เปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับรักษาสิวที่จมูก ( Q & A )

Q : สิวขึ้นจมูกแบบไหนกดได้บ้าง ควรบีบไหม

หากคนไข้ต้องการกดสิวที่จมูกด้วยตัวเอง ควรมีเครื่องมือในการกดสิว อาทิ อุปกรณ์ 3in1 เข็มช้อนหนีบในการกดเม็ดสิวออกจากรูขุมขุน, เจาะเม็ดสิว และดึงเม็ดสิวออกมา จะช่วยลดแรงเสียดสีเฉพาะจุดที่เอาสิวออกได้ ไม่แนะนำให้ใช้มือในการบีบออกเพราะหากคนไข้ใช้นิ้วมือในการกดสิวออก อาจทำให้บริเวณส่วนนั้นเป็นหลุมสิวขนาดกว้าง อาจทำให้เชื้อโรคหรือน้ำมันเข้าไปสะสมได้ทีหลังครับ 

Q : บีบสิวปลายจมูกเสี่ยงติดเชื้อในสมองจริงไหม

อาจเกิดขึ้นได้ครับ โอกาสที่จะเป็นต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรประมาทเด็ดขาดนะครับ เพราะการบีบสิวที่ปลายจมูกอาจกระตุ้นให้เส้นเลือดฝอยเป็นจำนวนมากเกิดความเสียหายรุนแรง หากเส้นเลือดฝอยเป็นแผลได้รับเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด อาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและสมองได้นะครับ

Q : เป็นสิวที่ปลายจมูก เสริมจมูก บีบได้ไหม

บีบสิวที่ปลายจมูกในขณะที่คนไข้ทำเสริมจมูกเรียบร้อย ไม่ควรบีบเด็ดขาดนะครับ ควรใช้ครีม เจล ในการแต้มรักษาสิวดีที่สุดครับ

กดสิว ที่ เอ็มวีต้า คลินิก

สรุปเรื่อง สิวขึ้นจมูก

การเป็นสิวที่จมูกเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นบนใบหน้าทุกเพศทุกวัย แต่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยภายใต้การรักษาของ M Vita Clinic ผู้เชี่ยวชาญการปรึกษา รักษาสิวใกล้ฉันทุกชนิดด้วยการบำบัดเลเซอร์ให้ใบหน้าของคุณเกลี้ยงเกลา กระจ่างใส และมีความมั่นใจในตัวเองอีกครั้ง ใครสนใจการรักษาสิวขึ้นจมูก สามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่…

ข้อมูลของ เอ็มวีต้า คลินิก (Mvita Clinic)

  • เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
  • อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
  • ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
  • สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
  • เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
  • ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ

เอกสารอ้างอิง

วันเผยแพร่

ปรึกษาทุกปัญหาความงามกับคุณหมอโดยตรง

    ชื่อ-สกุล*:

    เบอร์ติดต่อกลับ*:

    อีเมล์สำหรับส่งข้อมูล *

    เพศ:

    ชายหญิง

    อายุ (ปี):


    ต้องการปรึกษาคุณหมอเรื่องใด*:

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษา นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า