สิวที่แก้ม

เผยความลับ “ สิวที่แก้ม ” เกิดจากอะไร แนะนำวิธีรักษาที่ถูกต้อง

หลายคนที่กำลังเจอปัญหา “สิวที่แก้ม” อาจจะเกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ หรือ กำลังรู้สึกท้อแท้ เพราะพยายามทำยังไงสิวที่แก้มก็ไม่ยอมหายไปสักที แถมยังไม่สามารถหาสาเหตุได้อีก ว่าสิวที่เห่อขึ้นบริเวณแก้มเกิดจากอะไรกันแน่ 

บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยที่หลายคนกำลังข้องใจว่าจริง ๆ แล้ว เป็นสิวที่แก้มเกิดจากอะไร ทำไมรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที พร้อมทั้งแนะนำวิธีรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่แก้มที่ถูกต้อง ที่จะช่วยให้ใบหน้าของทุกคนกลับมาเนียนใสไร้สิว พร้อมเผยสิวอย่างมั่นใจ 

สารบัญบทความ

สิวที่แก้ม

สิวที่แก้มเกิดจาก

สิวที่แก้มเป็นบริเวณที่สามารถเกิดสิวได้ง่ายด้วยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สิ่งสกปรก ความมันบนผิวหนัง การอุดตันในรูขุมขน มลภาวะทางอากาศ ฝุ่น ควัน และพฤติกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดสิวตรงแก้ม ทำให้บางครั้งหลายคนเกิดอาการสิวเห่อที่แก้ม หรือ สิวอุดตัน สิวอักเสบที่แก้ม โดยลักษณะของสิวที่แก้มสามารถพบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สิวผดไม่มีหัวสิว สิวอุดตัน หรือ สิวอักเสบหัวหนอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดสิว โดยจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล 

สิวที่แก้มเกิดจากอะไร

จริง ๆ แล้วสิวที่แก้มเกิดจากอะไรกันแน่ ? ปกติแล้วสาเหตุของการเกิดสิวที่แก้ม มักเกิดจากการอุดตันของสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ผสมรวมกับความมันผิวหนังบริเวณรูขุมขน จนทำให้เกิดสิวที่แก้มขึ้นในที่สุด โดยมีปัจจัยอย่างที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวที่แก้มได้ ไม่ว่าจะเป็น

1. ความสกปรก

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่ากระบวนการเกิดสิวส่วนใหญ่ มีความสกปรกเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวรวมถึงสิวที่แก้มด้วย เมื่อผิวบริเวณแก้มสัมผัสกับสิ่งสกปรกก็จะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียบนผิว ซึ่งไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคือง และทำให้เกิดกระบวนการผิวหนังผลัดเซลล์ของผิวหนังมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนจนกลายเป็นสิวขึ้นในที่สุด

2. ความมันบนผิวหนัง

ความมันบนผิวหนังนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เกิดสิวที่แก้ม โดยบริเวณแก้มเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมาที่ผิวมากเกินความจำเป็น หรือ มากกว่าปกติ น้ำมันส่วนเกินที่ร่างกายผลิตออกมาจะไปอุดตันบริเวณรูขุมขน และส่งผลให้เกิดเป็นสิวที่แก้มในที่สุด

3. ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง

สิวที่แก้มที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ที่ร่างกายมักจะมีปริมาณระดับฮอร์โมนในกลุ่ม แอนโดรเจน (Androgen) มากกว่าปกติ โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะไปกระตุ้นการทำของต่อมไขมัน ทำให้เกิดกระบวนการผลิตน้ำมันออกมามากกว่าปกติ และ เมื่อน้ำมัน สิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตาย อุดตันบริเวณรูขุมขนจึงทำให้กลายเป็นสิวที่แก้มนั่นเอง

4. พฤติกรรมบางอย่าง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง นับว่าเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ก่อให้เกิดสิวที่แก้ม ไม่ว่าจะเป็น การใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า บริเวณแก้มบ่อยๆ โทรศัพท์มือถือ การเสียดสีของผิวและหน้ากากอนามัย ปลอกหมอนที่ไม่สะอาด และอื่นๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความเครียด สภาพจิตใจ และการนอนหลับพักพ่อที่ไม่เพียงพอ ก็อาจจะทำให้เกิดสิวที่แก้มได้

ปัจจัยกระตุ้นสิวที่แก้ม

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวที่แก้ม ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ 

•  สิ่งสกปรก 

•  พฤติกรรมบางอย่าง 

•  ระดับฮอร์โมนในร่างกาย

•  ความมันที่สะสมบนบริเวณใบหน้า 

•  การสวมใส่หน้ากากอนามัย 

•  เครื่องสำอาง และ สกินแคร์

•  อาการแพ้

•  พันธุกรรม

•  อาหารการกิน 

•  ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ 

•  โรคบางชนิด 

ประเภทของสิวที่แก้ม

ประเภทของสิวที่แก้ม

สิวอุดตันที่แก้ม

สิวอุดตันที่แก้ม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ สิวอุดตันที่แก้มหัวเปิด หรือที่หลายคนเรียกว่า สิวหัวดำ และ สิวอุดตันที่แก้มหัวปิด หรือ สิวหัวขาว โดยสาเหตุที่เกิดสิวอุดตันที่แก้ม เกิดจากการอุดตันของเซลล์ผิวที่ตาย ความมัน และสิ่งสกปรก นอกจากนี้ยังเกิดจากพฤติกรรมบางอย่าง และระดับฮอร์โมนเอนโดรเจนที่สูงมากกว่าปกติ 

สำหรับผู้ที่พบปัญหาสิวที่แก้ม โดยมีลักษณะเป็นสิวอุดตันหัวปิด แนะนำว่าควรรีบรักษา หรือ ไปปรึกษาแพทย์ เพราะมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นสิวอักเสบในอนาคตได้ ซึ่งจะทำให้การรักษายุ่งยากมากกว่าเดิม 

สิวอักเสบที่แก้ม

สิวอักเสบที่แก้มเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อเรียกว่า C.acne ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นกับชื่อนี้มากนัก แต่ถ้าหากว่าบอกว่าเป็นแบคทีเรียตัวเดียวกับ P.acne น่าจะร้อง อ้อ! กันบ้าง โดยเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิกันในร่างกายจะเกิดกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม ทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเกิดการอักเสบและเกิดสิวขึ้นมานั่นเอง 

ทั้งนี้การรักษาสิวอักเสบจะมีวิธีและขั้นตอนที่ยากมากกว่าการรักษาสิวอุดตัน และสิวอักเสบยังมีโอกาสเกิดรอยหลังจากรักษาหายแล้วได้มากกว่าด้วย 

สิวเสี้ยนที่แก้ม

สิวเสี้ยนที่แก้มมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างเส้นขน ซึ่งโดยปกติของมนุษย์แล้ว 1 รูขุมขนมักจะมีเส้นขนอยู่ที่ประมาณ 1-4 เส้น แต่การเกิดสิวเสี้ยนบริเวณรูขุมขนนั้นมักจะมีเส้นขนอยู่มากถึง 5-25 เส้นในรูขุมขนเดียว ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่า เส้นขนที่เกาะรวมกันในรูขุมขนคือสิวเสี้ยน สิวหัวดำ เพราะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

สิวหัวดำที่แก้ม

มีหลายคนที่เกิดความสับสนระหว่างสิวหัวดำที่แก้ม และ สิวเสี้ยน โดยสังเกตและแยกได้สิวหัวดำและสิวเสี้ยนได้ง่ายๆ ด้วยการลูบบริเวณแก้มหากรู้สึกว่ามีสิ่งแหลมๆ โผล่พ้นรูขุมขนขึ้นมาคือสิวหัวดำ ซึ่งสาเหตุของการเกิดสิวหัวดำที่แก้มมีกระบวนการเกิดเดียวกับสิวอุดตันทั่วไป แต่เป็นสิวอุดตันที่เกิดปฏิกิริยา Oxidation กับ ออกซิเจนในอากาศ ทำให้สีเข้มขึ้น ทำให้มองเห็นเป็นสิวหัวดำนั่นเอง

สิวผดที่แก้ม

สิวผื่น สิวผดที่แก้ม หรือ สิวผดบริเวณอื่น ๆ เป็นประเภทสิวที่แก้มที่มักพบในช่วงฤดูร้อน ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากแสงแดด รังสี UV อาการร้อน ฝุ่น ควัน และมลภาวะต่างๆ โดยแสงจะทำให้รูเปิดต่อมเหงื่อบวมจนเกิดเป็นตุ่ม ๆ ที่มีลักษณะคล้ายผด สำหรับวิธีรักษาสิวผด ถือเป็นเรื่องง่าย ที่ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน เพียงแค่หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

สิวผดไม่มีหัวที่แก้ม

สิวไม่มีหัวที่แก้มเป็นชื่อที่หลายคนใช้เรียก สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูน และไม่มีหัว ทำให้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการบีบสิว ซึ่งจริงๆ แล้ว สิวไม่มีหัวที่แก้ม คือ สิวอักเสบที่เกิดการอุดตันของรูขุมขนจนทำให้กลายเป็นสิวตุ่มนูนแดง โดยสิวลักษณะนี้ ไม่แนะนำให้บีบ เพราะอาจจะทำให้การอักเสบลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงได้

สิวฮอร์โมนแก้ม

สิวฮอร์โมนที่แก้มมักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หรือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันออกมามากกว่าปกติ ซึ่งการที่ร่างกายผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็นจำทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนและเกิดเป็นสิวที่แก้มในที่สุด

สิวเห่อแก้ม ระวังบอกโรคร้ายไม่รู้ตัว!

มีหลายคนที่เชื่อว่าตำแหน่งสิวที่แก้ม สามารถเป็นสัญญาณเตือนโรคบางชนิดได้ โดยสิวที่แก้มส่วนบนอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคไซนัส หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับปอด และสิวที่แก้มส่วนล่างอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก เช่น เหงือก และ ฟัน  นอกจากนี้สิวที่บริเวณโหนกแก้มอาจจะเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปัญหาการหายใจและปอด เป็นต้น

เป็นสิวที่แก้มไม่หายสักที รักษายังไงได้บ้าง

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการแพทย์มากขึ้น ส่งผลให้การรักษาสิวในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะเหมาะกับสิวแต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป โดยวิธีรักษาสิวที่แก้มที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ มีดังนี้

1. ยาทาภายนอก

ยาทารักษาสิวที่แก้ม

ยาทาภายนอกเป็นวิธีรักษาสิวที่แก้มที่คนส่วนใหญ่นิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี โดยยาทาภายนอกที่ใช้รักษาสิวที่นิยมกัน ได้แก่ ยาที่มีส่วนผสมของ Ratinoid มีฤทธิ์ที่สามารถช่วยลดอาการอักเสบและการอุดตันในรูขุมขนได้ดี และ benzoyl peroxide ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไม่ก่อให้เกิดอาการดื้อยา 

โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อนใช้ยา เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ใช้ยาเอง เพราะยาบางชนิดไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ อาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวบาง หรือไวต่อแสง เป็นต้น 

2. ยาสำหรับรับประทาน

ยารักษาสิวที่แก้ม

ในกรณีเป็นสิวที่แก้มรุนแรง หรือ ปริมาณมากกว่าปกติ แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาร่วมกับการรับประทานยา เพราะสามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่าตัวยาทาภายนอก โดยยาทานที่นิยมใช้รักษาสิว ได้แก่ ยาปฏิชีวนะที่ช่วยลดจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย, ยาปรับฮอร์โมน ที่ช่วยให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายกลับมาสมดุล หรือ ช่วยลดฮอร์โมนเอนโดรเจนในร่างกายลด และ ยา Isotretinoin ที่ช่วยลดการอักเสบ และ ยับยั้งกระบวนการผลิตน้ำมันของเซลล์ผิวหนัง 

แต่ยาสำหรับรับประทานมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือ ผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่ายาทาภายนอก ดังนั้นแนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนรับประทานยารักษาสิวทุกครั้ง

3. การกดสิว

กดสิวที่แก้ม

วิธีรักษาสิวที่แก้มด้วยการกดสิว นับว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเพราะเป็นวิธีที่เห็นผลทันทีหลังรักษา และสามารถช่วยป้องกันการพัฒนาของหัวสิวที่อาจจะขยายใหญ่และกลายเป็นสิวอักเสบ โดยวิธีนี้สามารถใช้ได้กับสิวอุดตัน แต่การกดสิวที่ผิดวิธีอาจจะทำให้สิวอุดตันกลายเป็นสิวอักเสบ และทำให้การรักยากมากกว่าเดิม แนะนำว่าการกดสิวที่ดีที่สุด ควรทำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น เพื่อลดโอกาสการเกิดรอยสิวในอนาคตด้วย

4. เลเซอร์รักษาสิว

เลเซอร์รักษาสิวที่แก้ม

การรักษาสิวที่แก้มด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์ดี และยังช่วยลดโอกาสการเกิดรอยสิว โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะใช้ร่วมกับยาทาที่กระตุ้นให้แบคทีเรียบนผิวไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้แสงเลเซอร์ที่ยิงลงผิวมีประสิทธิภาพที่ดีช่วยลดจำนวนแบคทีเรียได้ดีนั่นเอง นอกจากนี้เลเซอร์รักษาสิวยังช่วยลดการทำงานของต่อมไขมันช่วยให้ผิวมันน้อยลง ส่งผลให้สิวลดลงไปด้วย

5. สกินแคร์และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

สกินแคร์ สิวที่แก้ม

สำหรับผู้ที่เป็นสิวที่แก้มนอกจากการทายา ทานยา และหัตถการอื่น ๆ แล้ว การใช้สกินแคร์ หรือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับผิวแพ้ง่าย ถือเป็นการรักษาสิวอีกหนึ่งวิธี เพราะสามารถช่วยควบคุมความมันบนใบ ช่วยปรับให้ผิวสมดุล กลับมาแข็งแรง และยังช่วยชำระสิ่งสกปรกบนผิวที่อาจจะก่อให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนได้อีกด้วย

แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสิวตรงแก้ม

รักษาความสะอาด ผิวที่แก้มหายแน่

บางคนเป็นสิวที่แก้มเรื้อรัง ทำยังไงก็ไม่หายสักที วันนี้ทางคลินิกมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่แก้ม ดังนี้ 

•  หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า เพราะมือเป็นแหล่งรวมเชื้อแบคทีเรีย และสิ่งสกปรก

•  ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสใบหน้าทุกครั้ง

•  ล้างหน้าวันละ 1-2 ครั้งเป็นประจำทุกวัน 

•  ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือเป็นประจำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 

•  ทำความสะอาดอุปกรณ์แต่งหน้า เช่น แปรงแต่งหน้า

•  เปลี่ยนผ้าปู ปลอกหมอน ปลอกหมอนข้าง และผ้าห่มบ่อยๆ

•  ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น น้ำหอม แอลกอฮอล์ พาราเบน เป็นต้น

•  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด

•  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

•  ออกกำลังกายเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวที่แก้ม ( Q & A )

Q : เป็นสิวที่แก้มแต่งหน้า ทาครีมกันแดดได้ไหม

การรักษารอยสิวไม่อันตราย หากทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและทำด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพ จะไม่มีผลข้างเคียง และยังเห็นผลลัพธ์ได้ดีและเร็วอีกด้วย

Q : เป็นสิวที่แก้มแต่งหน้า ทาครีมกันแดดได้ไหม

สำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวที่แก้มสามารถแต่งหน้าและทาครีมกันแดดได้ตามปกติ แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้รองพื้น หรือ แป้งผสมรองพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน

สรุปเรื่อง สิวที่แก้ม

สิวที่แก้มเป็นปัญหาที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีหลายปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวที่แก้มได้ ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมน ความสะอาด พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และกระบวนการผลิตน้ำมันบนผิวหนัง ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่แก้มที่ดีที่สุด คือ การรักษาความสะอาดเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียที่อาจจะก่อให้เกิดสิวได้ 

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังวิธีรักษาสิวที่แก้มหลายวิธี โดยวิธีรักษาสิวที่ดีที่สุดคือการไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างตรงจุด

  • เปิด วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)
  • อังคาร – ศุกร์ : 11:00 – 20:00 , เสาร์ – อาทิตย์ : 10:00 – 20:00
  • ตั้งอยู่บน ถนน อโศกมนตรี หรือสุขุมวิท 21 ตรงข้ามโรงพยาบาลจักษุรัตนิน ครับ
  • สามารถจอดรถได้ที่ คอนโด สุขุมวิท ลิฟวิ่ง ทาวน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ
  • เดินทางสะดวกได้ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่มีรถ หรือเลี่ยงรถติด ก็มาง่ายมากๆครับเพราะร้านเรา ใกล้กับ MRT เพชรบุรี ออก Exit 2 เดินมา
  • ทางถนนอโศกมนตรี ประมาณ 200 เมตร ก็ถึง M Vita Clinic แล้วครับ

เอกสารอ้างอิง

วันเผยแพร่

ปรึกษาทุกปัญหาความงามกับคุณหมอโดยตรง

    ชื่อ-สกุล*:

    เบอร์ติดต่อกลับ*:

    อีเมล์สำหรับส่งข้อมูล *

    เพศ:

    ชายหญิง

    อายุ (ปี):


    ต้องการปรึกษาคุณหมอเรื่องใด*: